วันอังคารที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2558









นางสาว พัชราพร มงคลวิบูลย์ผล
 571479034 sec.af gen 1102 วิชา เทคโนโลยีสารสนเทศในชีวิตประจำวัน

เทคโนโลยีสารสนเทศในชีวิตประจําวัน

 
การนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยปฏิบัติงานในด้านต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิผล มีมากมายหลายด้าน ได้แก่
 
1. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานสำนักงาน ปัจจุบันสำนักงานได้นำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาประยุกต์ใช้อย่างแพร่หลาย เพื่อให้งานในสำนักงานมีประสิทธิภาพสูงขึ้น กล่าวคือ ทำให้งานมีความสะดวกรวดเร็ว ถูกต้อง แม่นยำ อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศที่นำมาใช้ในงานสำนักงาน ได้แก่ เครื่องพิมพ์ดีด อิเล็กทรอนิกส์ โทรศัพท์ เครื่องถ่ายเอกสาร ผลิตภัณฑ์เหล่านี้นำไปประยุกต์ใช้กับงานสำนักงานได้หลายลักษณะ เช่น
        1.1 งานจัดเตรียมเอกสาร เป็นการใช้เครื่องประมวลผลคำหรือเครื่องประมวลผลเนื้อหา เป็นเครื่องมือในการจัดเตรียม อุปกรณ์ประกอบการใช้เทคโนโลยีเหล่านี้ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ โมเด็ม และช่องทางการสื่อสาร ระบบประมวลผลคำ แบ่งออกได้ 2 ระบบ คือ
            1.1.1 ระบบเดี่ยว (Stand – alone) เป็นระบบที่สามารถประมวลผลได้ภายในคอมพิวเตอร์ชุดเดียว หรือจะเชื่อมโยงไปยังคอมพิวเตอร์อื่น ๆ
            1.1.2 ระบบเชื่อมโยงกับข่ายการสื่อสาร เป็นระบบที่มีการเชื่อมโยงสารสนเทศซึ่งกันและกันผ่านเครือข่ายโทรคมนาคม เช่น เครือข่ายโทรศัพท์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์

        1.2 งานกระจายเอกสาร เป็นการกระจายข้อมูลสารสนเทศไปยังผู้ใช้ ณ จุดต่าง ๆ อาจกระทำโดยการเชื่อมโยงผ่านเครือข่ายโทรคมนาคม อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศที่สามารถปฏิบัติงานกระจายเอกสารได้โดยอัตโนมัติ ได้แก่ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

        1.3 งานจัดเก็บและค้นคืนเอกสาร สามารถทำได้ทั้งระบบออฟไลน์และระบบออนไลน์ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือผ่านเครือข่ายโทคมนาคมรูปแบบอื่น เช่นระบบฐานข้อมูลเป็นต้น
 

     
       
1.4 งานจัดเตรียมสารสนเทศในลักษณะภาพ เทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้ดำเนินงานดังกล่าว ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องสแกนเนอร์ โทรทัศน์
        1.5 งานสื่อสารสนเทศด้วยเสียง เช่น โทรศัพท์ การประชุมทางโทรศัพท์
 
        1.6 งานสื่อสารสนเทศด้วยภาพและเสียง เช่น ระบบมัลติมีเดีย ระบบการประชุมทางไกลด้วยภาพและเสียง เป็นต้น

2. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานอุตสาหกรรม โรงงานอุตสาหกรรมนำเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการเข้ามาช่วยในการจัดการระบบงานการผลิต การสั่งซื้อ การพัสดุการเงิน บุคลากร และงานด้านอื่น ๆ ในโรงงาน
3. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานการเงินและการพาณิชย์ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในรูปแบบของเครื่องเบิกถอนเงินอัตโนมัติ เพื่ออำนวยความสะดวกในการฝาก ถอน โอนเงิน และนำคอมพิวเตอร์ระบบออนไลน์และออฟไลน์เข้ามาช่วยในการทำงานประจำวันของธนาคารด้วยการเชื่อมโยงข้อมูลของธนาคารต่างสาขา ต่างธนาคาร ทำให้ผู้ใช้บริการสามารถเบิก ถอน โอนเงินชำระเงินค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ได้
 
4. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานด้านการสื่อสาร ได้แก่ การบริการโทรศัพท์วิทยุ โทรทัศน์ เคเบิลทีวี การค้นคืนสารสนเทศระบบออนไลน์ ดาวเทียม และโครงข่ายบริการสื่อสารร่วมระบบดิจิตอล

5. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานด้านสาธารณสุข เช่น
        5.1 ระบบสารสนเทศโรงพยาบาล ถูกนำมาใช้ในระบบงานเวชระเบียน ระบบข้อมูลยาการรักษาพยาบาล การคิดเงิน รวมทั้งการส่งเวชระเบียนผ่านระบบโทรคมนาคมที่อาจเรียกว่า โทรเวชได้
        5.2 ระบบสาธารณสุข เทคโนโลยีสารสนเทศถูกนำมาใช้ในการดูแลรักษาโรคระบาดในท้องถิ่น เช่น เมื่อมีผู้ป่วยโรคอหิวาตกโรคในหมู่บ้าน ซึ่งอาจกลายเป็นโรคระบาดได้
        5.3 ระบบผู้เชี่ยวชาญ เป็นระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการวินิจฉัยโรค เช่น ระบบ Mycinของมหาวิทยาลัยสแดนฟอร์ด โดยเริ่มมาใช้ในการวินิจฉัยโรคพืชและโรคสัตว์ ที่ใช้หลักการเก็บข้อมูลต่าง ๆ ไว้โดยละเอียดแล้วใช้หลักปัญญาประดิษฐ์เข้ามาช่วยวิเคราะห์ เป็นแนวคิดในการทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้เหมือนมนุษย์
 


6. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับงานด้านการฝึกอบรมการศึกษา ดังนี้
        6.1 การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction : CAI) เป็นการนำเอาคำอธิบายบทเรียนมาบรรจุไว้ในคอมพิวเตอร์ แล้วนำบทเรียนนั้นมาแสดงแก่ผู้เรียน เมื่อผู้เรียนอ่านคำอธิบายเหล่านั้น คอมพิวเตอร์จะมีส่วนที่ใช้ทดสอบความเข้าใจของผู้เรียนด้วยว่าถูกต้องหรือไม่ หากเข้าใจไม่ถูกต้องคอมพิวเตอร์จะทำการอธิบายเนื้อหาเพิ่มเติมให้เข้าใจมากขึ้น แล้วถามซ้ำอีก
        6.2 การศึกษาทางไกล เทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้ในการจัดการศึกษาทางไกลมีหลายแบบตั้งแต่แบบง่าย ๆ เช่น การเรียนการสอนผ่านสื่อวิทยุ โทรทัศน์ ออกอากาศให้ผู้เรียนศึกษาเอง ตามเวลาที่ออกอากาศ ไปจนถึงใช้ระบบแพร่ภาพการสอนผ่านดาวเทียม หรือการประยุกต์ใช้ระบบประชุมทางไกล โดยผู้สอนและผู้เรียนสามารถสื่อสารถึงกันได้ทันที่ เพื่อสอบถามข้อสงสัยหรืออธิบายคำสอน เพิ่มเติม
        6.3 เครือข่ายการศึกษา เป็นการจัดทำเครือข่ายการศึกษาเพื่อให้ครูอาจารย์และนักศึกษามีโอกาสใช้เครือข่ายเพื่อแสวงหาความรู้ที่มีอยู่มากมายในโลก และใช้บริการต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ทาง การศึกษา เช่น บริการส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Electronics Mail : E-mail) การเผยแพร่และค้นหา ข้อมูลในระบบเวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web)
 

        6.4 การใช้งานในห้องสมุด มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ในการดำเนินงานโดยมีเครือข่ายต่าง ๆ ที่ให้การส่งเสริมสนับสนุนในการให้บริการห้องสมุด การนำเทคโนโลยี
สารสนเทศมาใช้ในห้องสมุดให้ความสะดวกแก่ผู้ใช้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นบริการยืม คืน การค้นหาหนังสือ วารสาร สิ่งพิมพ์ หรือการค้นหาข้อมูลที่ต้องการทำได้อย่างสะดวกและรวดเร็วมาก
        6.5 การใช้งานในห้องปฏิบัติการ มีการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการทำงานในห้องปฏิบัติการร่วมกับอุปกรณ์เครื่องมืออื่น ๆ เช่น การจำลองแบบ การออกแบบวงจรไฟฟ้า การ ควบคุม การทดลอง
        6.6 การใช้ในงานประจำและงานบริหาร เช่น การจัดทำทะเบียนประวัติของนักเรียน นักศึกษา การเลือกวิชาเรียน การลงทะเบียนเรียน การแสดงผลการเรียน การแนะแนวอาชีพ การแนะแนวการศึกษาต่อ การเก็บข้อมูลผู้ปกครองหรือข้อมูลครู ซึ่งทำให้ครูอาจารย์สามารถติดตามและดูแล นักเรียนได้ใกล้ชิดมากขึ้น รวมทั้งครูอาจารย์สามารถพัฒนาตนเองได้สูงขึ้น
กำเนิดเทคโนโลยีสารสนเทศ


                  จุดกําเนิดของเทคโนโลยีสารสนเทศ คือ ความต้องการในการที่จะสื่อสารกันเพราะอยู่คนละอําเภอ คนละตําบล หรือคนละจังหวัดกัน จึงคิดค้นหาวิธีที่จะติดต่อสื่อสารกัน โดยเริ่มจากการส่งจดหมาย เพราะเมื่อมีการค้าเกิดขึ้น การที่จะติดต่อกันนั้นถือเป็นเรื่องสําคัญเลยก็ว่าได้อย่างที่กล่าวไว้ว่าได้เริ่มจากการส่งจดหมายกัน จึงมีการคิดค้นวิธีที่จะติดต่อสื่อสารกันมากขึ้นหลายวิธีจึงทําให้เกิดพัฒนาการทางด้านนี้ ซึ่งจะมี หลายวิธีมากยิ่งขึ้น รวดเร็วมากยิ่งขึ้น และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเรื่อยมา ทั้งกระนั้นก็ยังมีความต้องการที่จะติดต่อบุคคลที่อยู่คนล่ะประเทศกันเพื่อการค้าหรือด้วยเหตุต่างๆ จึงทําให้เกิดการคิดค้นการส่งสัญญาณไฟฟ้าและเปลี่ยนเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าซึ่งสามารถใส่ทั้ง คําพูดหรืออักษรส่งหาถึงกันได้โดยผ่านทางสายต่างๆและนี่ก็คือ จุดเริ่มต้นและการพัฒนาของเทคโนโลยีสารสนเทศที่จะพัฒนาไปอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่สมัยก่อนจนถึงปัจจุบัน
    ความหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ
                   เทคโนโลยีสารสนเทศ ตรงกับภาษาอังกฤษว่า Information Technology เรียกย่อๆว่า“IT” หรือ ไอที โดยมีคําที่เกี่ยวข้องอยู่ 2 คําคือ
                   เทคโนโลยี (Technology) หมายถึง การประยุกต์เอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ ความจริงเกี่ยวกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มาทําให้เกิดประโยชน์ต่อมวลมนุษย์ เทคโนโลยีจึงเป็นวิธีการในการสร้างมูลค่าเพิ่มของสิ่งต่างๆ ให้เกิดประโยชน์มากยิ่งขึ้น เช่น ทรายหรือซิลิกอน เป็นสารแร่ที่พบเห็นทั่วไปตามชายหาด หากนํามาสกัดด้วยเทคโนโลยี และใช้เทคนิควิธีการสร้างเป็นชิป(chip) สําหรับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ จะทําให้สารแร่ซิลิกอนนั้นมีคุณค่า และมูลค่าเพิ่มขึ้นได้อีกมาก
                  สารสนเทศ (Information) หมายถึง ข้อมูลที่เป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับความจริงของคน สัตว์สิ่งของ ทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม หากมีการจัดเก็บรวบรวม เรียกค้น และสื่อสารระหว่างกันนํามาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ สารสนเทศมีความหมายที่กว้างไกล ซึ่งนักเรียนจะได้เรียนเพิ่มเติม
                        เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology : IT) หมายถึง การนําเทคโนโลยีด้านการสื่อสารและคอมพิวเตอร์ มาใช้สร้างข้อมูลเพิ่มให้กับสารสนเทศ ทําให้สารสนเทศมีประโยชน์และใช้งานได้กว้างขวางมากขึ้น เทคโนโลยีสารสนเทศรวมไปถึงการใช้เทคโนโลยีด้านต่างๆ ที่จะรวบรวมจัดเก็บใช้งาน ส่งต่อ หรือสื่อสารระหว่างกัน โดยใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์เป็นสื่อหลัก
                  ทั้งนี้เทคโนโลยีสารสนเทศจะเกี่ยวข้องโดยตรงกับเครื่องมือเครื่องใช้ในการจัดการสารสนเทศที่สําคัญ ได้แก่ เทคโนโลยีการสื่อสาร คอมพิวเตอร์ สารสนเทศ ขั้นตอนวิธีการดาเนินการซึ่งเกี่ยวข้องกับซอฟต์แวร์ เกี่ยวข้องกับตัวข้อมูล เกี่ยวกับบุคลากร เกี่ยวข้องกับกรรมวิธีการดําเนินงาน เพื่อให้ข้อมูลเกิดประโยชน์สูงสุด
ลักษณะสารสนเทศที่ดี
เนื้อหา (Content)
  
·       ความสมบูรณ์ครอบคลุม (completeness)
·       ความสัมพันธ์กับเรื่อง (relevance)
·       ความถูกต้อง (accuracy)
·       ความเชื่อถือได้ (reliability)
·       การตรวจสอบได้ (verifiability)
รูปแบบ (Format)
                   ชัดเจน (clarity)
      ·  ระดับรายละเอียด (level of detail)
      ·       รูปแบบการนําเสนอ (presentation)
      ·       สื่อการนําเสนอ (media)
      ·       ความยืดหยุ่น (flexibility)
      ·       ประหยัด (economy)

เวลา (Time)
·       ความรวดเร็วและทันใช้ (timely)
·       การปรับปรุงให้ทันสมัย (up-to-date)
·       มีระยะเวลา (time period)
กระบวนการ (Process)

  •       ความสามารถในการเข้าถึง (accessibility)
  •           การมีส่วนร่วม (participation)
  •           การเชื่อมโยง (connectivity)


ประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศ
                   การกําเนิดของคอมพิวเตอร์เมื่อประมาณห้าสิบกว่าปีที่แล้ว เป็นก้าวสําคัญที่นําไปสู่ยุค สารสนเทศ ในช่ว งแรกมีการนําเอาคอมพิวเตอร์มาใช้เ ป็นเครื่องคํานวณแต่ต่อมาได้มีความพยายามพัฒนาให้คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์สําคัญสําหรับการจัดการข้อมูลเมื่อเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ได้ก้าวหน้ามากขึ้นทําให้สามารถสร้างคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กลง แต่ประสิทธิภาพสูงขึ้น สภาพการใช้งานจึงใช้งานกันอย่างแพร่หลาย ผลของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อชีวิตความเป็นอยู่และสังคมจึงมีมากมีการเรียนรู้และใช้สารสนเทศกันอย่างกว้างขวาง ผลของเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยรวมกล่าวได้ดังนี้
                         การสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สภาพความเป็นอยู่ของสังคมเมือง มีการพัฒนาใช้ระบบสื่อสารโทรคมนาคมเพื่อติดต่อสื่อสารให้สะดวกขึ้น มีการประยุกต์มาใช้กับเครื่องอํานวยความสะดวกภายในบ้าน เช่น ใช้ควบคุมเครื่องปรับอากาศ ใช้ควบคุมระบบ ไฟฟ้าภายในบ้านเป็นต้น
                        สารสนเทศกับการเรียนการสอนในโรงเรียน การเรียนการสอนในโรงเรียนมีการนําคอมพิวเตอร์ และเครื่องมือประกอบช่วยในการเรียนรู้ เช่น วีดิทัศน์ เครื่องฉายภาพคอมพิวเตอร์ช่วยสอน คอมพิวเตอร์ช่วยจัดการศึกษา จัดตารางสอน คํานวณระดับคะแนน จัดชั้นเรียน ทํารายงานเพื่อให้ผู้บริหารได้ทราบถึงปัญหาและการแก้ปัญหาในโรงเรียน ปัจจุบันมีการเรียนรู้การสอนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในโรงเรียนมากขึ้น
                         เทคโนโลยีสารสนเทศกับสิ่งแวดล้อม การจัดการทรัพยากรธรรมชาติหลายอย่าง จําเป็นต้องใช้สารสนเทศเช่น การดูแลรักษาป่า จําเป็นต้องใช้ข้อมูล มีการใช้ภาพถ่ายดาวเทียมการติดตามข้อมูลสภาพอากาศ การพยากรณ์อากาศ การจําลองรูปแบบสภาวะสิ่งแวดล้อม เพื่อปรับปรุงแก้ไข การเก็บรวมรวมข้อมูลคุณภาพน้ำในแม่น้ำต่าง ๆ การตรวจวัดมลภาวะ ตลอดจนการใช้ระบบการตรวจวัดระยะไกลมาช่วยที่เรียกว่าโทรมาตร เป็นต้น
                            เทคโนโลยีสารสนเทศกับการป้องกันประเทศ กิจการทางด้านการทหาร มีการใช้เทคโนโลยี อาวุธยุทโธปกรณ์สมัยใหม่ลวนแต่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์และระบบควบคุม มีการใช้ ระบบป้องกันภัย ระบบเฝ้าระวังที่มีคอมพิวเตอร์ควบคุมการทํางาน
                             การผลิตในอุตสาหกรรม และการพาณิชยกรรม การแข่งขันทางด้านการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมจําเป็นต้องหาวิธีการในการผลิตให้ได้มาก ราคาถูกลงเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เข้ามามีบทบาทมาก มีการใช้ขอมูลข่าวสารเพื่อการบริหาร และการจัดการ การดําเนินการและยังรวมไปถึง ้การให้บริการกับลูกค้า เพื่อให้ซื้อสินค้าได้สะดวกขึ้น
                             ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีสารสนเทศมีผลเกี่ยวข้องกับทุกเรื่องในชีวตประจําวัน บทบาทเหล่านีมีแนวโน้มที่สําคัญมากยิ่งขึ้นด้วยเหตุนี้เยาวชนคนรุ่นใหม่จงควรเรียนรู้ขึ้นและเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อจะได้ เป็นกําลังสําคัญในการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศให้ก้าวหน้าและเกิดประโยชน์ตอประเทศต่อไป

แนวโน้มของเทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคต
                    การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศในคริสต์ศตวรรษที่ 21 มีแนวโน้มที่จะพัฒนาคอมพิวเตอร์ให้มีความสามารถใกล้เคียงกับมนุษย์ เช่น การเข้าภาษาสื่อสารของมนุษย์ โครงข่ายประสาทเทียมระบบจําลอง ระบบเสมือนจริง โดยพยายามนําไปใช้ให้เกิดประโยชน์มากขึ้นลดข้อผิดพลาดและป้องกันไม่ให้นําไปใช้ในทางที่ไม่ถูกต้องหรือผิดกฎหมาย
 แนวโน้มใน ด้านบวก
 1. การพัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่เชื่อมโยงกันทั่วโลกก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ช่องทางการดําเนินธุรกิจ เช่น การทําธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การผ่อนคลายด้วยการดูหนัง ฟังเพลง และบันเทิงต่างๆ เกมออนไลน์
 2. การพัฒนาให้คอมพิวเตอร์สามารถฟังและตอบเป็นภาษา พูดได้ อ่านตัวอักษรหรือลายมือเขียนได้ การแสดงผลของคอมพิวเตอร์ได้เสมือนจริง เป็นแบบสามมิติ และการรับรู้ด้วยประสาทสัมผัส เสมือนว่าได้อยู่ในที่นั่นจริง
 3. การพัฒนาระบบสารสนเทศ ฐานข้อมูล ฐานความรู้ เพื่อพัฒนาระบบผู้เชี่ยวชาญและการจัดการความรู้ การศึกษาตามอัธยาศัยด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-learning) การเรียนการสอนด้วยระบบโทรศึกษา (tele-education) การค้นคว้าหาความรู้ได้ตลอด 24 ชั่วโมงจากห้องสมุดเสมือน(virtual library)
4. การพัฒนาเครือข่ายโทร คมนาคม ระบบการสื่อสารผ่านเครือข่ายไร้สาย เครือข่ายดาวเทียม ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ทําให้สามารถค้นหาตําแหน่งได้อย่างแม่นยํา
5. การบริหารจัดการภาครัฐสมัยใหม่ โดยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและเครือข่ายการสื่อสารเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการ ดําเนินการของภาครัฐที่เรียกว่ารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-government)รวมทั้งระบบฐานข้อมูลประชาชน หรือ e-citizen
แนวโน้มใน ด้านลบ
1. ความผิดพลาดในการทํางานของระบบ คอมพิวเตอร์ ทั้งส่วนฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ที่เกิดขึ้นจากการออกแบบและพัฒนา ทําให้เกิดความเสียหายต่อระบบและสูญเสียค่าใช้จ่ายในการแก้ปัญหา
2. การละเมิดลิขสิทธิ์ของทรัพย์สินทางปัญญา การทําสําเนาและลอกเลียนแบบ
3.การก่ออาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ การโจรกรรมข้อมูล การล่วงละเมิด การก่อกวนระบบคอมพิวเตอร์

ความจำเป็นของระบบสารสนเทศ

ข้อมูล ข่าวสารเป็นหัวใจหลักของการดำเนินงานในทุกๆ องค์กร ไม่ว่าจะเป็นองค์กรที่ดำเนินธุรกิจ การศึกษา หรือบริหารประชาชน ซึ่งบุคลากรของแต่ละองค์กรก็มีความต้องการใช้สารสนเทศที่แตกต่างกัน ได้แก่
          ผู้บริหารระดับสูง (Top Manager) เช่น ปลัดกระทรวง อธิบดี ประธานบริษัท มีหน้าที่กำหนดทิศทาง วิสัยทัศน์ นโยบายขององค์กร รวมทั้งการวางแผนในระยะยาว มักมีความต้องการสารสนเทศทั้งภายในและภายนอกองค์กรโดยสรุปของสภาพในอดีต ปัจจุบัน ตลอดจนแนวโน้มในอนาคต
ผู้บริหารระดับกลาง (Middle Manager) เช่น ผู้อำนวยการ อธิการบดี มีหน้าที่รับนโยบายจากผู้บริหารระดับสูงมาวางแผนเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ มักมีความต้องการสารสนเทศที่ค่อนข้างละเอียดของสภาพในอดีต ปัจจุบัน และแนวโน้มในอนาคต
ผู้บริหารระดับปฏิบัติการ (Operation Manager) เช่น เจ้าหน้าที่ฝ่ายต่างๆ มีหน้าที่ดูแลควบคุมด้านการปฏิบัติงาน มักมีความต้องการสารสนเทศเฉพาะด้านที่ทำงานอยู่ในปัจจุบัน
                การใช้สารสนเทศของผู้บริหารในระดับต่างๆ ก็เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจ ซึ่งสามารถแบ่งประเภทของการตัดสินใจออกได้ 3 ประเภท คือ
1.       การตัดสินใจแบบมีโครงสร้าง (Structure Decision) เป็นการตัดสินใจเกี่ยวกับงานที่ทำเป็นประจำ (Routine) มักมีหลักเกณฑ์และขั้นตอนในการแก้ไขปัญหาที่กำหนดขึ้นอย่างชัดเจน
2.       การตัดสินใจแบบไม่มีโครงสร้าง (Unstructured Decision) เป็นการตัดสินใจกับงานที่ไม่ได้เกิดขึ้นเป็นประจำ ไม่สามารถคาดการณ์ได้ล่วงหน้า ส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับปัจจัยภายนอกองค์กร
3.       การตัดสินใจแบบกึ่งโครงสร้าง (Semi-structured Decision)เป็นการตัดสินใจที่อยู่ระหว่างการดัดสินใจแบบที่ 1 และแบบที่ 2
 ระดับผู้บริหารในองค์กร ( Manager Level ) แบ่งได้ 3 ระดับ ดังนี้
1.       ผู้บริหารระดับสูง (Top Manager) ดูแลกำหนดทิศทางขององค์กร ด้านวิสัยทัศน์ นโยบาย เป็นการวางแผนในระยะยาว จะใช้การตัดสินใจในระดับกลยุทธ์(Strategic planning ) 
2.       ผู้บริหารระดับกลาง ( Middle Manager ) รับนโยบายจากผู้บริหารระดับสูงมาวางแผน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ จะใช้การตัดสินใจในระดับยุทธวิธี (Practical planning ) 
3.       ผู้บริหารระดับปฏิบัติการ (Operational Manager) รับผิดชอบดูแลควบคุมด้านการปฏิบัติงานรายวัน โดยรับแผนปฏิบัติมาจากผู้บริหารระดับกลาง จะใช้การตัดสินใจระดับปฏิบัติการ (Operational planning ) 
* บทบาทการตัดสินใจของผู้บริหารเป็นจุดสำคัญสำหรับองค์กร ดังนั้นผู้บริหารจำเป็นต้องมีเครื่องมือที่ช่วยในการวางแผนและตัดสินใจสำหรับปัญหารูปแบบต่าง ๆ เครื่องมือนั้นคือ”สารสนเทศที่ถูกต้อง ชัดเจนและรวดเร็ว” 

การใช้เทคโนโลยีในชีวิตประจำวัน

ในยุคนี้คงจะไม่สามารถที่จะปฏิเสธได้เลยว่าเทคโนโลยีไม่มีความจำเป็นสำหรับการดำเนินชีวิตของมนุษย์ เพราะทุกคนล้วนใช้เทคโนโลยีเพื่ออำนวยความสะดวกในชีวิตในทุก ๆ ด้าน ตั้งแต่การตื่นนอนจนถึงการเข้านอน ดังนั้นเทคโนโลยีจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่อาศัยอยู่ในเมืองที่ชีวิตประจำวันมีแต่ความเร่งรีบต้องแข่งขันกับเวลา การนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะเทคโนโลยีสมัยใหม่นอกจากจะช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงานแล้วยังช่วยย่นระยะเวลาทำกิจกรรมต่าง ๆ ให้สั้นลง
 

แต่อย่างไรก็ตาม การนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ในชีวิตประจำวันก็เปรียบเสมือนดาบสองคม เพราะในบางครั้งก็นำโทษมาให้แก่มนุษย์ด้วยเช่นกัน ยกตัวอย่างที่สามารถเห็นได้ชัดเจนก็คงจะหนีไม่พ้นเรื่องที่เป็นข่าวตามหน้าหนังสือพิมพ์ในเรื่องของการถูกลวงไปข่มขืน โดยสาเหตุหลัก ๆ ของการถูกล่อลวงไปข่มขืน ก็เป็นผลมาจากการใช้เทคโนโลยีในทางที่ผิดซึ่งส่วนใหญ่ก็มาจากการพูดคุยกันผ่านทางโปรแกรมการสนทนาออนไลน์(Chat) ที่เมื่อมีการพูดคุยกันก็มีการนัดมาเจอกันและเกิดเหตุการณ์การล่อลวงไปข่มขืน เพราะการพูดคุยผ่านการChat นี้เป็นการพูดคุยที่อิสรเสรี ผู้พูดสามารถที่จะพูดคุยอะไรออกไปก็ได้ไม่ว่าจะเป็นความจริงหรือไม่ก็ตาม และนอกจากนี้ก็ยังมีการนำเสนอเวปไซด์ที่เป็นเวปไซด์โป๊ หรือมีการนำเสนอสิ่งที่อนาจารลงในเวปไซด์ และทำให้เป็นการยั่วยุทางอารมณ์ของผู้เล่นจนนำมาสู่การกระทำอันผิดศีลธรรม และเกิดคดีความได้ และจากการที่สื่ออินเตอร์เน็ตเป็นสื่อเสรีไม่มีองค์กรใด ๆ เข้ามาควบคุมดูและจึงทำให้อินเตอร์เน็ตกลายเป็นช่องทางหนึ่งในการติดต่อสื่อสารกันระหว่างกลุ่มคนที่ไม่หวังดี เช่น กลุ่มก่อการร้าย หรือ กลุ่มคนที่ต้องการก่ออาชญากรรม โดยกลุ่มคนเหล่านี้ก็จะใช้อินเตอร์เน็ตเป็นช่องทางหลักในการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน โดยอาจมีเวปไซด์เป็นกลุ่มของตนเอง หรือใช้การส่ง E-mail เป็นทอด ๆ ระหว่างกันและมีการแปลรหัสจากการส่ง E-mail โดยไม่มีใครสามารถที่จะล่วงรู้ได้ และในบางครั้งก็มีคนที่มีความสามารถในการใช้คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตเป็นอย่างดี คนเหล่านี้ก็นำความเก่งกาจของตนเองมาใช้ในทางที่ผิด เช่น การลักลอบขโมยข้อมูลในองค์กรต่าง ๆ เพื่อนำมาใช้ก่ออาชญากรรม เช่น ลักลอบค้นข้อมูลของบริษัทบัตรเครดิต หรือ ธนาคาร หรือข้อมูลบัชญีเงินฝากและATM เพื่อลักลอบนำเงินไปใช้ นอกจากนี้บางครั้งก็มีการใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อปล่อยหรือสร้างข่าวที่มีความบิดเบือน เพื่อให้เกิดความเข้าใจผิดและสร้างความหวาดกลัวให้กับประชาชน เช่น ในบางครั้งกลุ่มก่อการร้าย ก็อาจใช้สื่ออินเตอร์เน็ตเพื่อสร้างข่าวบิดเบือน เพื่อจูงใจประชาชนให้มาเข้าร่วมในขบวนการและร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการก่อการร้าย
นอกจากนี้จากการที่มนุษย์เราพึ่งพาเทคโนโลยีมากจนเกินไป ก็ทำให้เกิดผลเสียแก่ตัวเราได้ด้วยเช่นกัน เพราะการพึ่งพาเทคโนโลยีมากเกินไปจะทำให้คนเราเกิดความเคยชินจากการนำเทคโนโลยีมาใช้อำนวยความสะดวกในชีวิต จนทำให้บางครั้งเราก็ทำอะไรไม่เป็นไม่สามารถคิดอะไรได้เพราะมีเทคโนโลยีมาช่วย และอาจส่งผลให้ในอนาคตมนุษย์จะมีความสามารถลดน้อยลง และเทคโนโลยีหรือเครื่องจักรต่าง ๆ ก็จะมีความสำคัญมากกว่ามนุษย์
จากที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีมีทั้งประโยชน์และโทษ ดังนั้นการใช้เทคโนโลยีที่ถูกวิธีจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ และต้องไม่ใช้เทคโนโลยีในทางที่ผิดที่จะส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อทั้งตนเองและผู้อื่น และในขณะเดียวกันมนุษย์เราก็จะต้องหันกลับมาพึ่งพาตัวเองบ้าง และใช้เทคโนโลยีเฉพาะเท่าที่จำเป็นเท่านั้น และในบางครั้งผู้ใหญ่หรือผู้ปกครองก็ต้องเข้ามาดูแลเด็ก และให้คำแนะนำแก่เด็กด้วยเพื่อไม่ให้เด็กเหล่านี้เข้าไปเสพย์สื่อที่ผิดเบือนและผิดศีลธรรม

เทคโนโลยีสารสนเทศกับการติดต่อสื่อสาร

หากจะกล่าวถึงความก้าวหน้าของโทรคมนาคมในปัจจุบันนี้แล้ว ย่อมกล่าวได้ว่า โทรคมนาคมได้มีการพัฒนาให้ทันสมัยหรือทันต่อความเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์โลกอยู่ตลอดเวลา ทั้งนี้ ก็เนื่องจากความเจริญก้าวหน้าของโลกที่ได้เปลี่ยนเป็นโลกแบบโลกาภิวัฒน์ จึงทำให้การติดต่อสื่อสารระหว่างประเทศเป็นไปได้อย่างสะดวกและรวดเร็วขึ้น หรือกล่าวได้ว่าเป็นโลกที่ไร้พรมแดน ดังนั้น ผู้คนทั่วโลกจึงสามารถทำการติดต่อสื่อสารกันได้อย่างทั่วถึง รวมทั้งก่อให้เกิดความสัมพันธ์หรือความร่วมมือกันในระหว่างประเทศของแต่ละประเทศอีกด้วย
ความก้าวหน้าของโทรคมนาคมในปัจจุบันนี้ กล่าวได้ว่า เกิดขึ้นเพราะผลของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีความทันสมัยขึ้น ดังนั้น จึงก่อให้เกิดเครื่องมือสื่อสารหรืออุปกรณ์ที่ใช้ในการติดต่อกับผู้อื่นที่มีความทันสมัยและสอดคล้องกับสถานการณ์โลกในปัจจุบันขึ้น เช่น โทรศัพท์เคลื่อนที่ ซึ่งสามารถทำการติดต่อสื่อสารกับผู้รับสารได้ทั้งภายในและนอกประเทศ รวมทั้งยังสามารถทำการติดต่อสื่อสารได้ในทุกที่ทุกเวลาอีกด้วย เพราะเครื่องมือสื่อสารดังกล่าวสามารถพกพาได้สะดวก ดังนั้น การติดต่อสื่อสารโดยใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ จึงมีความรวดเร็วกว่าการติดต่อสื่อสารในรูปแบบอื่น นอกจากนี้ มนุษย์เราก็ยังสามารถทำการติดต่อสื่อสารโดยใช้อินเตอร์เน็ทเข้ามาเป็นตัวช่วยในการติดต่อสื่อสารได้อีกด้วย แต่ทั้งนี้ การติดต่อสื่อสารโดยใช้อินเตอร์เน็ทนั้น ก็จำเป็นจะต้องใช้อุปกรณ์เสริมอื่นๆเข้ามาเสริมด้วย หรืออาจจะกล่าวได้ว่าเป็นการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในรูปแบบของคอมพิวเตอร์ ซึ่งหมายถึง การใช้ความก้าวหน้าของคอมพิวเตอร์ในการติดต่อสื่อสารกับผู้รับสารจากทั้งในและนอกประเทศ โดยเราจะเห็นได้จากการ chat online โดยใช้โปรแกรมของอินเตอร์เน็ท เช่น msn, skype เป็นต้น และจากการติดต่อสื่อสารโดยใช้อินเตอร์เน็ทผ่านทางคอมพิวเตอร์นี้เอง ส่งผลให้ผู้ส่งสารและผู้รับสารสามารถทำการพูดคุยหรือเจรจากันพร้อมทั้งเห็นหน้าตาของกันและกันได้ เสมือนเป็นการเจรจาพบปะกันอย่างแท้จริง ซึ่งถือเป็นความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีความทันสมัยมากขึ้น แต่การติดต่อสื่อสารในรูปแบบดังกล่าว ก็จำเป็นจะต้องใช้อุปกรณ์อื่นๆเข้ามาช่วยเสริมให้สามารถทำการติดต่อสื่อสารได้อย่างสะดวกขึ้น เช่น การใช้ webcam หรือกล้องที่ใช้เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ เพื่อที่จะทำให้ผู้ส่งสารและผู้รับสารสามารถทำการติดต่อสื่อสารโดยเห็นหน้าของกันและกันได้ผ่านทาง webcam นอกจากนี้ การติดต่อสื่อสารโดยใช้คอมพิวเตอร์ ก็ยังสามารถทำให้ผู้ทำการติดต่อสื่อสารสามารถพูดคุยกันได้ เฉกเช่นเดียวกับการติดต่อสื่อสารโดยใช้โทรศัพท์ แต่ทั้งนี้ก็จะต้องมีการใช้ไมโครโฟนเข้ามาเป็นอุปกรณ์เสริมในการทำการติดต่อสื่อสารด้วยเช่นกัน และจากการใช้ไมโครโฟนในการเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์พร้อมทั้งใช้โปรแกรมทางอินเตอร์เน็ทเข้ามาช่วยเสริมนั้น ก็จะทำให้สามารถทำการติดต่อสื่อสารกันโดยสามารถพูดคุยเจรจาเสมือนกับการติดต่อสื่อสารทางโทรศัพท์ได้ ดังนั้น เราอาจจะเห็นได้ว่า การติดต่อสื่อสารโดยใช้คอมพิวเตอร์นั้น สามารถทำให้ผู้ทำการติดต่อสื่อสารระหว่างกันสามารถพูดคุยหรือเจรจาเสมือนการใช้โทรศัพท์ได้ แต่ทั้งนี้ก็จำเป็นจะต้องกระทำผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ทด้วย นอกจากนี้ การติดต่อสื่อสารกันผ่านทางอินเตอร์เน็ทนั้นก็ยังมีข้อดีที่แตกต่างไปจากการใช้โทรศัพท์ นั่นก็คือ ทำให้ผู้ติดต่อสื่อสารระหว่างกันสามารถมองเห็นหน้าของกันและกันได้ ซึ่งถือเป็นการช่วยทำให้การติดต่อสื่อสารระหว่างกันนั้นเป็นไปได้อย่างสะดวกขึ้นด้วยเช่นกัน และจากการที่มีการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศอยู่ตลอดเวลา จึงส่งผลให้คอมพิวเตอร์มีการพัฒนาตามไปด้วย ดังนั้น จึงก่อให้เกิดคอมพิวเตอร์ในรูปแบบต่างๆ นอกเหนือไปจากคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะเพียงอย่างเดียว เช่น คอมพิวเตอร์แบบพกพา หรือที่รู้จักกันอย่างทั่วไปในวงกว้างว่า Notebook หรือ Laptop ซึ่งคอมพิวเตอร์ชนิดนี้ก็ได้มีการพัฒนาความทันสมัยหรือระบบการทำงานให้สอดคล้องเข้ากับสถานการณ์ของโลกอยู่ตลอดเวลา ทั้งนี้ ก็เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงานให้แก่ผู้ใช้ นอกจากนี้ การใช้คอมพิวเตอร์แบบพกพาก็ยังช่วยทำให้การติดต่อสื่อสารเป็นไปได้อย่างสะดวกขึ้นมากกว่าคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะอีกด้วย เนื่องจากว่าสามารถพกพานำติดตัวไปในที่ต่างๆได้ รวมไปถึงการที่ในปัจจุบันนี้ได้มีผู้ใช้คอมพิวเตอร์แบบพกพาเป็นจำนวนมากขึ้น หรือกล่าวได้ว่าได้รับความนิยมมากกว่าการใช้คอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้บริษัทต่างๆ พากันแข่งขันพัฒนาระบบการทำงานให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคมากขึ้นหรือช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้มากขึ้นด้วย นอกจากนั้นก็ยังมีการติดตั้งอุปกรณ์เสริมต่างๆของคอมพิวเตอร์แบบพกพามากขึ้น ซึ่งเราจะเห็นได้จากการที่คอมพิวเตอร์แบบพกพาในปัจจุบันนี้ได้มีการติดตั้งอุปกรณ์เสริมต่างๆ อยู่ภายในตัวเครื่องแล้ว เช่น ไมโครโฟน, webcam เป็นต้น นอกจากนี้ โปรแกรมต่างๆภายในคอมพิวเตอร์ก็ได้มีการพัฒนาให้เหมาะสมกับการทำงานของผู้ใช้เป็นส่วนใหญ่อีกด้วย รวมไปถึงได้มีการพัฒนาความเร็วในการเชื่อมโยงเครือข่ายอินเตอร์เน็ทให้เร็วยิ่งขึ้นด้วย
webcam
computer microphone

ดังนั้น เราจะเห็นได้ว่าการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบันนี้มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการใช้ชีวิตประจำวันของมนุษย์ และยิ่งในยุคของโลกาภิวัฒน์ซึ่งเป็นยุคที่โลกไร้พรมแดน สามารถทำการติดต่อกันได้อย่างทั่วถึง ไม่ว่าจะในด้านเศรษฐกิจ การเมือง รวมไปถึงด้านวัฒนธรรม จึงส่งผลให้เกิดการติดต่อสื่อสารระหว่างกันมากขึ้น ด้วยเหตุนี้เอง การใช้ประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศจึงเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิตประจำวันด้วย และนอกจากประโยชน์ในด้านการติดต่อสื่อสารแล้ว เทคโนโลยีสารสนเทศก็ยังมีความสำคัญต่อการทำงานของหน่วยงานหรือบริษัทบางบริษัทที่จะต้องใช้คอมพิวเตอร์ในการทำงานอีกด้วย นอกจากนี้ ยังอาจรวมถึงประชาชนโดยทั่วไปที่จะต้องใช้คอมพิวเตอร์ในการทำงานด้วย ไม่ว่าจะเป็นวัยเด็ก หรือวัยผู้ใหญ่ เช่น เด็กก็ใช้คอมพิวเตอร์ในการพิมพ์งานหรือว่าเล่นเกมส์ เป็นต้น ดังนั้น เราจะเห็นได้ว่าการใช้ประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศกับการใช้ชีวิตประจำวันในปัจจุบันนี้นั้นไม่สามารถแยกออกจากกันได้เลย หรือกล่าวได้ว่ามีความเป็นไปได้ยากที่การใช้ชีวิตประจำวันของมนุษย์จะไม่มีความเกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเลย หรือถ้ามีก็อาจจะเป็นเพียงส่วนน้อย ดังนั้น การใช้ประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศจึงต้องมีความเกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิตประจำวันของมนุษย์อยู่ตลอดเวลา

การใช้ประโยชน์ของเทคโนโลยีในชีวิตประจำวัน

คอมพิวเตอร์ถือว่าเป็นเทคโนโลยีหนึ่งที่ทุกบ้านต้องมีไว้อำนวยความสะดวกก็ว่าได้ ด้วยในปัจจุบันคอมพิวเตอร์ได้มีขนาดเล็กลง และ ราคาก็ไม่แพงนัก คนทั่วไปสามารถซื้อหามาใช้ได้เหมือนกับเครื่องใช้ไฟฟ้าโดยทั่วไป ในหน่วยงานทั้งภาครัฐบาลและเอกชน ก็มีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในหน่วยงานขึ้น และมีแนวโน้มที่จะมีการใช้สูงขึ้น การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ใชีวิตประจำวันเพิ่มมากขึ้น เพราะคอมพิวเตอร์สามารถจัดเก็บข้อมูลได้เป็นจำนวนมาก คอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้รวดเร็ว คอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้ตลอดเวลา คอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ ถ้ามีการกำหนดโปรแกรมทำงานที่ถูกต้อง คอมพิวเตอร์สามารถทำงานแบบคนได้ในสภาพแวดล้อมที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพร่างกาย ในงานที่มีความเสี่ยงสูงในโรงงานอุตสาหกรรมได้ คอมพิวเตอร์ได้เข้าไปมีบทบาทในทุกส่วน ในสถานศึกษา ปัจจุบันตามสถานศึกษาต่างๆ ได้มีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการเรียนการสอนอย่างมากมาย รวมทั้งใช้คอมพิวเตอร์ในงานบริหารของโรงเรียน ในงานวิศวกรรม คอมพิวเตอร์สามารถจะทำงานในด้านวิศวกรรมได้ตั้งแต่ขั้นตอนการลอกเขียนแบบ จนกระทั่งถึงการออกแบบโครงสร้างของสถาปัตยกรรมต่างๆ คอมพิวเตอร์สามารถทำงานร่วมกับเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ต่างๆ เช่น เครื่องมือวิเคราะห์สารเคมี เครื่องมือการทดลองต่างๆ แม้กระทั่งการเดินทางของยานอวกาศต่างๆ คอมพิวเตอร์สามารถจัดเก็บข้อมูลได้มากมาย มีความรวดเร็ว และถูกต้อง ทำให้สามารถได้ข้อมูลที่ช่วยให้สามารถตัดสินใจในการ ดำเนินธุรกิจ คอมพิวเตอร์ได้ถูกนำมาใช้ในการเก็บประวัติของคนไข้ ควบคุมการรับ และจ่ายยา ตลอดจนยังอยู่ในอุปกรณ์เครื่องมือทางการแพทย์ ในวงราชการคอมพิวเตอร์ถูกนำมาใช้ในงานทะเบียนราษฎร์ ช่วยในการนับคะแนนการเลือกตั้ง

การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในชีวิตประจำวัน

โลกเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วในปัจจุบันคงไม่มีใครปฏิเสธ ว่าเทคโนโลยีสารสนเทศ(Information Technology)หรือที่เรียกว่าITได้ เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้นการสื่อสารข้อมูลเป็นไปด้วย ความรวดเร็วและเชื่อมโยงกันอย่างทั่วถึงและกว้างขวาง(Globalization) เทคโนโลยีทางด้านการสื่อสาร(Communication)และคอมพิวเตอร์(Computer) ได้ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการติดต่อแลกเปลี่ยนสารสนเทศ (Information) ที่มีประสิทธิภาพทำให้เกิดเครือข่ายข้อมูลครอบคลุมทั่วโลกหรือWWW(Worldwide Web)ที่เราเห็นได้จากการใช้งานในระบบอินเตอร์เน็ต(Internet)ซึ่งได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิต ประจำวันไปแล้วและกำลังขยายปริมาณจำนวนผู้ใช้มากขึ้นๆ
 
ในทุกวันมีการ
ใช้Internetในการสืบค้นข้อมูลความรู้ทั่วไปการติดต่อ สื่อสารในรูปแบบต่าง ๆ                 เช่นการส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (e-mail), การพูดคุย (Chat)หรือ การใช้ Video conference เป็นต้น การทำธุรกิจการค้า(e-commerce)การใช้เพื่อการบันเทิงต่างๆ เป็นการดูหนัง,ฟังเพลง,การอ่านนิตยสารอิเล็กทรอนิกส์(e-Magazine) รวมทั้งe-Bookที่อาจมาแทนที่กระดาษโนอนาคตอันใกล้ ในปัจจุบันนี้ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอาจส่งผลกระทบได้ทั้งทางบวกและทางลบ กล่าวคือ ผลกระทบทางบวกนั้นได้แก่ ในด้านการดำเนินชีวิตประจำวันนั้นเทคโนโลยีช่วยส่งเสริมความสะดวกสบายของมนุษย์ช่วยทำให้ความเป็นอยู่ของมนุษย์ดีขึ้น ช่วยส่งเสริมให้มีประสิทธิภาพในการทำงาน ทำให้มนุษย์มีเวลาว่างเพื่อใช้ในในทางที่เกิดประโยชน์มากขึ้น มีเครื่องมือสื่อสาร โทรคมนาคมที่ทันสมัยใหม่ ให้ติดต่อกันได้สะดวกรวดเร็ว และยังมีเครื่องอำนวยความสะดวกอีกหลายๆ อย่าง แม้แต่ในภาคหน่วยงานราชการก็ยังมีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ เช่น สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครองได้นำยุทธศาสตร์ e-Government มาใช้ในการเก็บข้อมูลทะเบียนราษฎร์หกสิบหกล้านระเบียน, บันทึกทะเบียนเกิด ทะเบียนแต่งงาน ทะเบียนหย่า ทะเบียนปืน, บันทึก ตรวจสอบการย้ายเข้า-ออก การเปลี่ยนชื่อ-สกุล, อำนวยความสะดวกในการจัดทำบัตรประชาชน กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ได้ใช้เทคโนโลยีในการบันทึกราคาสินค้าในจังหวัดต่าง ๆ เป็นประจำ, ส่งข้อมูลราคาสินค้าจากจังหวัดเข้าสู่กรมฯ, คำนวณสถิติราคาสินค้าและดัชนีค่าครองชีพ, จัดทำฐานข้อมูลราคาสินค้าต่าง ๆ หรือแม้แต่ในมหาวิทยาลัยและสถาบันการศึกษาก็ยังนำเทคโนโลยีมาใช้ในการลงทะเบียนวิชาเรียนและเก็บค่าหน่วยกิต, ตรวจข้อสอบและคิดระดับคะแนน, บันทึกข้อมูลและจัดทำฐานข้อมูลนักศึกษา, บันทึกข้อมูลหนังสือ และ การยืมคืน, จัดทำบัญชี และ รายงานเกี่ยวกับการศึกษา ส่วนโรงพยาบาลได้นำมาใช้ในการบันทึกและค้นหาเวชระเบียนผู้ป่วย, จัดทำฐานข้อมูลยาและเวชภัณฑ์, คิดเงินค่ายาและจัดทำบัญชีต่าง ๆ , จัดทำสถิติผู้ป่วยและพิมพ์รายงานส่งกระทรวง, ใช้อุปกรณ์การแพทย์ที่ควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ ในภาคธุรกิจก็นำมาใช้เช่นเดียวกัน ได้แก่ ธนาคารมีการใช้ระบบฝากถอนเงินทุกประเภท ระบบ ATM, ระบบตรวจสอบสินเชื่อ, OFFICE BANKING & HOME BANKING งานค้าปลีกมีการใช้ระบบซื้อสินค้ามาขาย, ระบบสินค้าคงคลังและการจัดทำรหัสแท่ง(Bar Code), ระบบเก็บเงินลูกค้า, ระบบบัญชี, ระบบบัตรเครดิต โรงแรมนำเทคโนโลยีมาใช้ในการจองห้องพักแบบต่าง ๆ, การลงทะเบียนเข้าพัก, การคิดเงินค่าห้องพักและบริการต่าง ๆ , การจัดทำบัญชีต่าง ๆ , การให้บริการสื่อสารและอินเทอร์เน็ต ในภาคอุตสาหกรรมมีการออกแบบผลิตภัณฑ์ด้วยระบบ Computer Aided Design, ตรวจสอบแบบผลิตภัณฑ์โดยอัตโนมัติ, จัดทำโปรแกรมควบคุมเครื่องจักรการผลิต, บันทึกระบบวัตถุดิบและสินค้าคงคลัง, ระบบ Computer Integrated Manufacturing เป็นต้น อย่างไรก็ตามการนำเทคโนโลยีมาใช้ก็อาจส่งผลกระทบทางลบได้เช่นเดียวกัน กล่าวคือ เทคโนโลยีสามารถนำมาใช้ในการอาชญากรรมได้ โจรผู้ร้ายใช้เทคโนโลยีในการวางแผนปล้น ลักลอบข้อมมูล ฯลฯ , การใช้คอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์สื่อสาร โดยไม่ต้องเห็นตัว ทำให้ความสัมพันธ์กับผู้อื่นลดน้อยเสื่อมถอยลง, ส่งผลกระทบทางด้านจิตใจของกลุ่มบุคคลบางกลุ่มที่มีความวิตกกังวลว่าอาจจะต้องตกงานเพราะโรงงานส่วนมากจะใช้เครื่องจักรแทนคนงานมากขึ้น ซึ่งความคิดเหล่านี้จะเกิดกับคนบางกลุ่มเท่านั้น, เกิดการพัฒนาอาวุธมากขึ้นสามารถนำเทคโนโลยีมาใช้สร้างเป็นอาวุธที่มีอานุภาพการทำลายล้างสูง ทำเสี่ยงต่อการเกิดสงคราม ฯลฯ เป็นต้น
 
ดังนั้นจะเห็นว่าเทคโนโลยีสารสนเทศนั้นเป็นสิ่งที่ยังคงเกี่ยวข้อง สัมพันธ์กับการดำรงชีวิตของมนุษย์ตราบใดที่เรายังต้องพึ่งเทคโนโลยีอยู่ แต่ผลกระทบต่อมนุษย์ที่จะเกิดแก่มนุษย์นั้นจะร้าย ดี มากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับมนุษย์ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์ คิด ทำ และนำเทคโนโลยีสารสารเทศมาใช้นั่นเอง